จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Time table

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีพหุปัญญา


ปัญญา (Intelligence) คืออะไร ได้มีความพยายามที่จะอธิบายของคำนี้มาตั้งแต่โบราณกาล เพลโต(Plato) นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณเชื่อว่ามนุษย์ส่วนใหญ่ไม่รู้อะไรนักและความรู้ที่มนุษย์มีก็เพียงเล็กน้อย เขากล่าวต่ออีกว่าเขาเป็นคนฉลาดเพราะรู้ตัวว่าเขายังโง่อยู่ เขายังเชื่อว่ามนุษย์จะไม่มีวันเข้าใจสัจธรรมทั้งหมดได้และพอที่จะเข้าใจสัจธรรมได้โดยการศึกษาวิชาเลขาคณิตและตรรกศาสตร์ อริสโตเติล(Aristotle) เห็นว่าการหาความรู้ไม่ใช่การแสวงหาอุดมคติที่เข้าถึงไม่ได้ หากแต่เป็นการทำงานของความนึกคิดจิตใจของมนุษย์(Soul) เขายังกล่าวว่ามนุษย์มีความสามารถทางสติปัญญาสองด้านคือ ด้านที่หนึ่งคือความสามารถในการเข้าใจสถานการณ์ และด้านที่สองคือ ความสามารถในการตัดสินใจและเลือกทางเลือกโดยอาศัยพื้นฐานทางศีลธรรม ในศาสนาพุทธกล่าวถึงลักษณะจิต 3 ชนิด คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งทำให้มนุษย์คิดเชื่อและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องในการดำรงชีวิต ศาสนาคริสต์เน้นถึงความสำคัญของศรัทธา ความจงรัก และความเชื่อ นักคิดในยุคเรอเนสซองซ์ (Renaissance) เช่น ลีโอนาโด ดาร์วินชี (Leonardo Da Vinci) โธมัส มอร์ (Thomas Moore) และนิโคโล มาคิอาเวลลี (Niccolo Machieavelli) ได้เน้นถึงความสามารถของมนุษย์ในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์และคิดอย่างมีเหตุผล นักคิดเหล่านี้เห็นว่าความสามารถในการคิดทั้งสองแบบนี้สามารถควบคุมโลกและสร้างโลกได้ นักคิดสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันก็ได้พยายามคิดและให้คำจำกัดความของความสามารถของมนุษย์ทางด้านจิตนี้ตลอดมา ในศตวรรษที่ 20 นี้ ความคิดเกี่ยวกับปัญญาของมนุษย์เปลี่ยนไปอย่างมากมายตามความรู้ ความเข้าใจ สมอง และกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ เช่นรอยเฟิน ฟอยเออร์สไตน์ (Reuven Feuerstein) พอล แมคลีน(Paul Maclean) และโรเจอร์ สเปอรี (Roger Sperry) ได้ให้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับสมองส่วนต่าง ๆ และกระบวนการเรียนรู้จากการทำงานของสมอง นักจิตวิทยาชาวสวิสชื่อ ชอง ปีอาเช (Jean Piaget) ก็ให้ทฤษฎีการสร้างความรู้ของมนุษย์ ซึ่งช่วยให้เข้าใจกระบวนการเรียนรู้และการทำงานของสมองมากขึ้น
ความหมายของพหุปัญญา


การ์ดเนอร์ กล่าวว่า พหุปัญญา หมายถึง เป็นแนวคิดของพหุปัญญาในเรื่องที่เกี่ยวกับความเก่งความฉลาดของบุคคล โดยความเก่งความสามารถและความฉลาดดังกล่าวนั้นถูกควบคุมโดยสมอง แต่ละส่วน หากสมองส่วนที่ควบคุมความเก่งนั้นได้รับความกระทบกระเทือนจนผิดปกติก็จะทำให้ความเก่งด้านนั้นหมดไปหรือพัฒนาได้ไม่เต็มที่ หรือไม่สามารถแสดงออกซึ่งความเก่งนั้น ๆ ได้
พหุปัญญา หมายถึง สติปัญญาความสามารถที่หลากหลายของบุคคลที่มี ความสามารถที่มาจากการถูกควบคุมโดยสมองแต่ละส่วน และการพัฒนาสมองต้องได้รับการเลี้ยงดูจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย คิดอย่างมีเหตุผลและต้องจัดให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้พัฒนา ความสามารถทางสติปัญญาของบุคคลในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีพหุปัญญา



ทฤษฎีพหุปัญญา กล่าวว่า คนเรามีอัจฉริยะภาพหรือปัญญาอย่างน้อย 8 ด้าน และในคนหนึ่งก็มีครบทั้ง 8 ด้าน เพียงแต่ว่าจะมีบางด้านที่เด่นกว่าด้านอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชีววิทยาของบุคคล สภาพแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ครอบครัว และการฝึกฝนแต่วัยเยาว์ ปัญญา 8 ด้านมีดังต่อไปนี้
1.ปัญญาด้านภาษาและการสื่อสาร คือมีความสามารถสูงในการใช้ภาษาอย่างที่ใจต้องการ เช่นการพูด การเขียน การใช้คำ การใช้ภาษที่ซับซ้อน รวมถึงความสามารถในการจัดทำเกี่ยวกับโครงสร้างของภาษา เสียง ความหมาย และเรื่องเกี่ยวกับภาษา เช่นสามารถใช้ภาษาในการหว่านล้อม อธิบายและอื่นๆ มีทักษะในการรับข้อมูลผ่านทางภาษาได้ดี
2.ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ หมายถึงความสามารถเข้าใจของเหตุและผล หรือความสามารถในการใช้ตัวเลข ความไวในการเห็นความสัมพันธ์แบบแผนตรรกวิทยา การคิดเชิงนามธรรม ออกแบบและทำการทดลอง การคิดเชิงเหตุผล การคาดการณ์ รู้จักจัดหมวดหมู่ จัดประเภท สันนิฐาน สรุป คิด คำนวณ ตั้งสมมุตติฐาน
3. ปัญญาด้านมิติและการจินตภาพ หมายถึงความสามารถในการสร้างภาพ 3 มิติ ของโลกภายนอกขึ้นในจิตใจของตนเอง มีความสามารถในการมองพื้นที่ มองอะไรก็เห็นภาพในจินตนาการของเขา
มีความคิดสร้างสรรค์
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว มีความสามารถสูงในการใช้ร่างกายของตนแสดงความคิด ความรู้สึก ความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ และใช้ทักษะทางกาย ตลอดจนการจัดทัศนศึกษ
5.ปัญญาด้านดนตรี มีความสามารถคิดเป็นดนตรี สามารถฟังรูปแบบ จำได้ รู้ได้ ปฏิบัติได้ รวมถึงความไวในเรื่องจังหวะ ทำนองเสียง ความสามารถในการเข้าใจ วิเคราะห์ดนตรีได้
6.ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์และการเข้าใจผู้อื่น มีความสามรถสูงในการเข้าใจอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก เจตนาของผู้อื่น มีความไวในการสังเกต ภาษาท่าทาง มีความสามารถสูงในการรู้ถึงลักษณะต่างๆของสัมพันธภาพของมนุษย์และสามารถตอบสนองได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง มีความสามารถสูงในการรู้จักตนเอง รู้จักความสนใจ ความถนัด ความสามารถ ตามความเป็นจริง มีจุดอ่อน จุดแข็งเรื่องใด รู้เท่าทันอารมณ์ ความคิด ความปรารถนาของตน สามารถฝึกตนเอง เช้าใจตนเอง ภูมิใจในตนเอง
8. ปัญญาด้านธรรมชาติ ปัญญาที่มนุษย์ใช้แยกแยะธรรมชาติ เช่น พืชกับสัตว์ แยกประเภทพืช สัตว์ รวมทั้งความไวในการเข้าใจลักษณะอื่นๆของธรรมชาติ เช่นสภาพก้อนเมฆ ก้อนหิน เป็นต้น
แนวทางการนำทฤษฎีพหุปัญญาไปใช้

จากรายงานการวิจัยการพัฒนาหลักสูตรและลดระยะเวลาเรียนและเพิ่มประสบการณ์สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่ระบุการใช้พหุปัญญาในห้องเรียนว่า การจะใช้พหุปัญญาในห้องเรียนนั้นคงต้องเริ่มต้นด้วยเป้าหมายและค่านิยมของการศึกษาเช่น สอนเพื่อความเข้าใจเพื่อเตรียมบุคคลให้ทำงานเมื่อจบการศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนอย่างเต็มที่หรือสอนให้เด็กเชี่ยวชาญในวิชาหลักจึงจะสามารถตอบได้ว่านำพหุปัญญา (MI) มาใช้ได้อย่างไร ดร.การ์ดเนอร์ เห็นว่าพหุปัญญาจะเป็นเครื่องมือที่ดีเลิศในการเรียนการสอน แคมม์เปล และดิคคินสัน ได้กล่าวถึงการใช้พหุปัญญาในห้องเรียนดังนี้
1.การใช้การนำเข้าสู่บทเรียน เช่น เด็กบางคนอาจจะเข้าใจกราฟหรือพืชคณิตบนกระดานดำยาก ครูจึงนำสนามเด็กเล่นโรงเรียนเป็นแกนกราฟ ครูนำนักเรียนมาทำกราฟที่สนามโดยทุกคนเป็นจุดๆ หนึ่งบนเส้นกราฟหรือในออสเตรเลียมีโรงเรียนแห่งหนึ่งมีสนามเล่นปูอิฐเป็นรูปสุริยจักรวาล ครูนำนักเรียนมาเรียนดาราศาสตร์ในสนามให้เด็กๆ เห็นดวงดาวต่างๆ หมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นต้น
2.ใช้ในการเสริมบทเรียนโรงเรียนในอเมริกาหลายโรงเรียนจัดสัปดาห์พหุปัญญา โดยพยายามใช้ปัญญาหลายๆ อย่างเข้าใจบทเรียน เช่น ใช้ศิลปะและการละครในการเรียนวรรณคดีหรือเรียนดาราศาสตร์ในหัวข้อสุริยจักรวาล โดยใช้ปัญญาทางตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ วัดระยะทางระหว่างดวงดาวต่างๆรอบดวงอาทิตย์ (ความสามารถทางกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว) เขียนพูดบรรยายเกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาล(การใช้ภาษาพูดและเขียน) เป็นต้นแต่ละบทไม่จำเป็นต้องใช้ทุกปัญญา
3. ใช้ในการส่งเสริมการทำงานด้วยตนเองโดยครูให้เด็ก คิด ริเริ่ม ค้นคว้า ดำเนินการและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงงานของตนเอง ซึ่งเด็กมีโอกาสใช้แทบทุกปัญญาทั้ง 8 ด้าน
4. ใช้ในการประเมินผล นั้นคือให้เด็กที่ทำโครงงานเสนอโครงงานและแสดงโครงงานหรือฝึกประเมินโครงงานของตนด้วยตนเองและให้เพื่อนๆ ช่วยประเมินด้วย ซึ่งเด็กจะได้ฝึกปัญญาต่างๆ หลายด้านเช่นกัน
5. การฝึกเป็นลูกมือ ในข้อนี้ ดร.การ์ดเนอร์ ได้เสนอให้นักเรียนประถมหรือมัธยมฝึกเป็นลูกมือหรือฝึกงาน 3 ด้านคือ
1. ด้านศิลปหัตถกรรม
2. ด้านวิชาการ
3. ด้านร่างกายโดยความร่วมมือของชุมชน

บทสรุป



จะเห็นได้ว่าคนเรามีปัญญาอย่างน้อย 8 ด้าน แต่ละอาชีพต้องการปัญญาแต่ละด้านแตกต่างกันจึงควรพัฒนาปัญญาทั้ง 8 ด้านให้เกิดแก่นักเรียนเท่าที่จะมากได้ในเด็กแต่ละคน
ปัญญาหรืออัจฉริยะภาพสามารถสร้างได้ มนุษย์เกิดมาพร้อมอัจฉริยภาพมากมายหลายประการ ในตัวคนหนึ่งคนก็มีได้ครบทุกด้าน ขึ้นอยู่กับว่าคนเราจะฝึกฝนและพัฒนาด้านไหนเป็นพิเศษ สมองคนเรามีเซลล์สมองเท่ากับไอน์สไตน์ ดังนั้น ไอน์สไตน์ฉลาดแค่ไหนโดยทฤษฎีเราก็ฉลาดได้เท่านั้นเหมือนกัน
ปัญญาหรืออัจฉริยะภาพสามารถสร้างได้ ด้วยการ รู้จักหาข้อมูล คิด จินตนาการ สร้างพัฒนาแบบแผนใหม่ๆให้สมอง และผ่านการแก้ปัญหาที่ท้าทาย เอาใจใส่ในสิ่งที่ทำ แสวงหาแนวทางที่พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปเสมอ โดยไม่มีคำว่าทำไม่ได้ในสมอง ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ หาโอกาสสร้างประสบการณ์ มุมมองทักษะใหม่ๆให้ชีวิต ยิ่งมีประสบการณ์มากจะต่อยอดไปสู่ทักษะอื่นๆในกลุ่มเดียวกันได้มากขึ้นให้มีความคิดกว้างขวางขึ้น ขอให้ลงมือทำด้วยหลักอิทธิบาทสี่ อัจฉริยะสร้างได้จริงๆ.